ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ภายในวัด ของ วัดแจ้งวรวิหาร

'ตึกกษัตริย์'หรือเก็งจีนเจ้าพระยานคร อยู่ท่ามกลางวัดแจ้ง เป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าพระยานคร และหม่อมทองเหนี่ยว ซึ่งมีเจดีย์ ๒ องค์ อยู่ในตึกนี้ มีลักษณะประณีต สวยงามมาก เป็นฝีมือช่างเมืองนครแท้ ซึ่งเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ได้สร้างขึ้นไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ และตึกชนิดเดียวกันนี้ อยู่ในเขตวัดประดู่ ฯ เป็นที่บรรจุอัฐิพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยานคร (น้อย) (ราชโอรสของพระเจ้าตากสิน) สร้างโดยเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) (บุตรเจ้าพระยานครน้อย) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕

  • ปัจจุบัน ทางหน่วยศิลปากร นครศรีธรรมราช ได้ขึ้นทะเบียนไว้ และบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวควรไปทัศนศึกษาแห่งหนึ่งด้วย และยังมีสถานที่เก็บอัฐิบริวารและเครือญาติของเจ้าพระยานคร ฯ อีกเป็นจำนวนมากอยู่รอบนอกตึกกษัตริย์
  • โบสถ์มหาอุด ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ขณะนี้ได้ทำการก่อสร้างใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้เป็นสถานที่สร้าง และปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ที่ทหารนิยมใช้ในราชการทัพ ซึ่งเป็นที่จำกันได้ดีว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น เป็นขุนศึกคนสำคัญของประเทศไทยทางภาคใต้ และนอกจากที่วัดแจ้งนี้แล้ว โบสถ์มหาอุดยังมีที่วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี และที่วัดกำแพงถม อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยังรูปร่างเป็นโบสถ์สมบูรณ์กว่าที่วัดแจ้ง
  • พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ ขนาด ๒๐ นิ้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งเมื่อพอกปูนซีเมนต์หุ้มไว้ ค้นพบและกระเทาะออกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ตอนตั้งวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ ทางหน่วยศิลปากรนครศรีธรรมราชได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
  • พระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาด ๕๒ นิ้ว (ทองเหลือง)
  • พระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา ขนาด ๓๖ นิ้ว (ทองเหลือง) และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ นั่งบ้าง ยืนบ้าง หลายรูป

ใกล้เคียง